Bitget App
เทรดอย่างชาญฉลาดกว่าที่เคย
ซื้อคริปโตตลาดเทรดFuturesCopyบอทเทรดEarn
พื้นฐานการเทรด
กับดักแห่งการล่อลวงในการเทรด

กับดักแห่งการล่อลวงในการเทรด

มือใหม่
2024-02-27 | 5m

ในตอนแรกของซีรีส์ “เจาะลึกจิตวิทยาการเทรด” นี้ เราตั้งใจที่จะแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจิตวิทยาตลาด ซึ่งน่าจะช่วยนักเทรดและนักลงทุนได้เป็นอย่างมาก การทำความเข้าใจว่าจิตใจของแต่ละคนและของส่วนรวมทำงานอย่างไรสามารถช่วยให้เราตัดสินใจให้ดีขึ้นได้ ซึ่งจะนำพาไปสู่เป้าหมายสูงสุดของผู้ร่วมตลาด นั่นคือ การสร้างผลกำไร

เราทุกคนล้วนเป็นมนุษย์

รากฐานสำคัญประการหนึ่งของเศรษฐศาสตร์คือสมมติฐานที่ว่าผู้คนประพฤติตนอย่างมีเหตุผลเกือบสมบูรณ์แบบ หมายความว่ากระบวนการตัดสินใจจะเกี่ยวข้องกับการคำนวณที่แม่นยำเท่านั้น ซึ่งน่าจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ โดยสภาพแวดล้อมหรืออารมณ์ส่วนบุคคลไม่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตาม ที่ว่ามานั้นยังห่างไกลจากข้อเท็จจริงในความเป็นจริง นักจิตวิทยายอมรับว่าเราเป็นสิ่งมีชีวิตทางอารมณ์ความรู้สึกโดยธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ อารมณ์จึงเป็นส่วนหนึ่งของการเทรดโดยธรรมชาติ

ลองนึกถึงครั้งล่าสุดที่คุณได้ยินข่าวที่ไม่ค่อยดีนัก คุณรู้สึกกระวนกระวายใจหรือไม่ หรือเก็บมาพิจารณาว่าจะทำอะไรต่อไปก่อนดี ในทางกลับกัน หากคุณเห็นสีเขียวบนหน้าจอและปิด Position ได้แบบมีกำไร คุณรู้สึกดีใจจนตัวลอยและมีความมั่นใจในฝีมือตัวเองยิ่งขึ้นที่จะดำเนินการเทรดที่ประสบความสำเร็จมากขึ้นหรือไม่ การตอบสนองทางอารมณ์มักเกิดขึ้นก่อนกระแสความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ดังนั้นการสงบจิตสงบใจสักครู่ก่อนที่จะตัดสินใจจึงสามารถช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการกระทำที่หุนหันพลันแล่นได้และช่วยให้ดำเนินการอย่างมีสติได้

อุตสาหกรรมคริปโตมีตัววัดระดับความเชื่อมั่นของตนเองอยู่ เรียกว่าดัชนีความกลัวและความโลภ (Fear Greed Index) บางตัวเอาไว้ดูความเชื่อมั่นใน Bitcoin โดยเฉพาะ (alternative.me และ lookintobitcoin ) ขณะที่บางตัวก็เอาไว้ติดตามหลายๆ เหรียญเพื่อดูความเชื่อมั่นของตลาดในวงกว้าง (CoinStats , CFGI.io และ Alpha Data Analytics ) ระดับที่อยู่ตรงกลางระหว่างขั้วความกลัวกับขั้วความโลภคือความเชื่อมั่นที่เป็นกลาง ซึ่งจะสามารถเห็นได้ในช่วงที่มีความเคลื่อนไหวน้อยลง ความกลัวทำให้เกิดความระมัดระวัง บางครั้งถึงขั้นถอนตัวหรือเทรดกันอย่างนิ่งๆ ในขณะที่ความโลภนั้นหลายครั้งมักเกี่ยวข้องกับช่วงที่ตลาดเริงร่า เช่น ตลาดกระทิงปี 2019, DeFi Summer ปี 2020 หรือเมื่อตอนที่ Bitcoin เกือบแตะระดับ US$70,000 ช่วงสิ้นปี 2021

การที่นักเทรดจะเลียนแบบพฤติกรรมของรายอื่นๆ ก็ถือเป็นเรื่องปกติเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้นของขั้นสุดขั้วไม่ว่าจะขั้วใดก็ตาม แต่สิ่งนี้ก็เป็นเพียงการแสดงออกในอีกลักษณะหนึ่งของมนุษย์ที่เรียกว่า “การทำตามฝูงชน” (Herd Mentality) ในฐานะที่เราเป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม จึงมักมองหาสิ่งบอกใบ้ภายนอกโดยไม่รู้ตัวก่อนที่จะตัดสินใจ และเมื่อเราเห็นว่า “คนส่วนใหญ่” กำลังขายหรือซื้อ อคตินี้ก็อาจคืบคลานเข้ามาได้เป็นอย่างมาก ทั้งยังบดบังการตัดสินใจของเราด้วย

ข้อมูลมหาศาลทะลักเข้ามา

ผู้ร่วมตลาดรายอื่นๆ อาจฉวยโอกาสจากข้อเท็จจริงที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” เพื่อเพิ่มผลกำไรให้ตัวเองได้ นักเทรดทั่วไปมักติดตามความเป็นไปในตลาด สิ่งที่อาจและจะส่งผลต่อราคา สิ่งที่ผู้เล่นรายใหญ่กำลังซื้อและขาย รวมถึงทิศทางที่ Smart Money มุ่งไปกันผ่านช่องทางหลักๆ อย่างสำนักข่าวและเครือข่ายโซเชียลมีเดีย เช่น Telegram และ X (ชื่อเดิม Twitter) สิ่งเหล่านี้คือตัวย้ำเตือนเราทุกวัน หรือจะเรียกว่าทุกนาทีก็ไม่ผิดนัก (เพราะคริปโตไม่เคยหลับใหลและดำเนินไปอย่างรวดเร็วสุดขีด) คอยตะโกนกรอกหูว่าเราควรและต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อตามคนอื่นๆ ในตลาดให้ทัน ภายใต้แรงกดดันอย่างต่อเนื่องนี้ จึงอาจรู้สึกเหมือนว่าเราไม่มีทางชนะได้เลยหากไม่ลงมือดำเนินการในทันที

แล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึง FOMO (Fear of Missing Out) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าความกลัวตกรถหรือพลาดโอกาส ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากโซเชียลเน็ตเวิร์กด้วยเช่นกัน ผู้คนอวดกำไรและชีวิตหรูหรากันบนโซเชียลมีเดียและ/หรือชุมชน พูดถึงกำไรระดับ 2, 3 ,4+++ หลักในชั่วข้ามคืน ก็ล้วนมีส่วนทำให้เกิดความรู้สึกว่ามาไม่ทัน (โอกาสดังกล่าวไม่เกิดซ้ำแล้ว หรือ สินทรัพย์ดังกล่าวมีอุปทานจำกัดเท่านั้น) รวมถึงความรู้สึกวิตกกังวล (คนอื่นทำเงินได้ แต่ฉันทำไม่ได้) จึงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมตามแรงกดดัน

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ข้อมูลรอบตัวเรามีทั้งที่เป็นความจริงครึ่งเดียวและที่เป็นข่าวปลอมจำนวนมาก สื่อรายใหญ่เมื่อเร็วๆ นี้ก็ได้แชร์ข่าวอัปเดตที่เป็นเท็จเกี่ยวกับการอนุมัติกอง Spot Bitcoin ETF และแม้ว่าจะไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็ทำให้ราคา Bitcoin ดีดขึ้นไปถึง 10% จากนั้นปรับตัวลงกลับมาสู่ระดับก่อนหน้าภายในไม่กี่ชั่วโมง

เป็นผู้สังเกตการณ์

เป็นไปได้ไหมที่จะขจัดอารมณ์ความรู้สึกออกเมื่อทำการเทรด เราเชื่อว่าไม่ ถ้าเช่นนั้นจะสามารถเรียนรู้ที่จะลดผลกระทบได้หรือไม่ ได้แน่นอน เราจึงออกซีรีส์ “เจาะลึกจิตวิทยาการเทรด” เพื่อให้คุณได้มีเคล็ดลับและเครื่องมือที่จำเป็นในการเดินทางฝ่าสิ่งรบกวนต่างๆ

ประการแรกก็ได้กล่าวถึงไปข้างต้นแล้ว นั่นคือ ให้ใช้เวลาตามสมควรก่อนที่จะลงมือดำเนินการใดๆ จริงๆ เราแนะนำให้คุณปล่อยให้อารมณ์ของคุณผ่านไปก่อน จากนั้นจึงค่อยดำเนินการตามขั้นตอนถัดไป แต่ถ้าท่วมท้นเกิน ก็ให้รอจนกว่าอารมณ์ความรู้สึกจะเลยผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ให้ถามตัวเองว่าทำไมถึงเลือกคู่เทรดนี้หรือทำไมถึงเปิด/ปิด Position นี้ หรือเหตุใดจึงเทรดด้วยไซส์ขนาดนี้ เพราะคิดคำนวณมาอย่างดีแล้วหรือเพราะความกลัว/ความโลภชั่วคราวกันแน่

ประการที่ 2 จะเกี่ยวข้องกับทฤษฎีการประกวดนางงาม Keynesian หากไม่รู้จัก คำนี้พูดถึงว่ากรรมการที่จะได้รับรางวัลไปนั้นคือกรรมการที่คัดเลือกผู้เข้าประกวดคนที่ตนคิดว่ากรรมการคนอื่นจะมองว่าสวยที่สุด แทนที่จะเลือกผู้เข้าประกวดคนที่ตนมองว่าสวยที่สุด กล่าวโดยสรุปคือเราควรเรียนรู้ที่จะอยู่ในตลาดนี้ ไม่ใช่เรียนรู้จากตลาดนี้ หากคุณรู้สึกดีกับข่าวชิ้นหนึ่ง ก็อย่าลืมว่ามีโอกาสที่คนอื่นจะรู้สึกแบบเดียวกัน มิหนำซ้ำอาจเดิมพันก้อนโตกับข่าวนี้ด้วย ให้มาวิเคราะห์ดูว่าจะอยู่ได้นานแค่ไหน และกลยุทธ์การออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณคืออะไร สถานการณ์กรณีที่ดีที่สุดจะทำอะไร ที่แย่ที่สุดจะทำอะไร และวิธีเอาตัวเองออกจากสถานการณ์นั้นคืออะไร การเตรียมพร้อมสำหรับผลลัพธ์ทุกหน้าถือเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในการเทรดของคุณ

ข้อสงวนสิทธิ์: ความคิดเห็นที่อยู่ในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเท่านั้น บทความนี้ไม่ใช่การสนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการใดๆ ที่ได้มีการเอ่ยถึง รวมถึงไม่ใช่คำแนะนำด้านการลงทุน การเงิน หรือการเทรด ผู้ใช้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองก่อนตัดสินใจลงทุน

แชร์
link_icon
หากยังไม่ได้เป็น Bitgetterของขวัญต้อนรับมูลค่า 6,200 USDT สำหรับ Bitgetter หน้าใหม่!
สมัครเลย
ทุกเหรียญโปรดของคุณ เรามีให้ครบครัน!
ซื้อ ถือ และขายคริปโทเคอร์เรนซียอดนิยม เช่น BTC, ETH, SOL, DOGE, SHIB, PEPE และอีกเพียบ ลงทะเบียนและเทรดเพื่อรับเซ็ตของขวัญสำหรับผู้ใช้ใหม่มูลค่า 6,200 USDT!
เทรดเลย